วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

3.KMการสืบสานและพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองไทยตอนสรุปผลการสัมมนา

KMสรุปผลการสัมมนา เรื่อง การสืบสานและพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองไทย
ณ ห้องประชุม 203-206 อาคารรัฐสภา 2
ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2537

นายวัชระ บุนนาค เลขานุการ(ผู้สรุปการสัมมนา)

จากการที่ผู้เขียนได้อ่านหนังสือเอกสารทางวิชาการเรื่อง การสืบสานและพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองไทย  ทำให้ผู้เขียนได้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการบันทึกและสรุปผลการสัมมนา จากท่านวัชระ บุนนาค เลขานุการในการสัมมนาครั้งนี้

ท่านวัชระได้สรุปสาระสำคัญของการสัมมนาไว้ดังนี้ คือ

1. ประธานคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร (นายอำนวย สุวรรณคีรี) กล่าวขอบคุณท่านประธานรัฐสภา (นายมารุต บุนนาค) ที่ได้สละเวลาอันมีค่า ให้เกียรติเป็นประธานการสัมมนา พร้อมทั้งกล่าวรายงานถึงความสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมืองซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเมืองไทยให้มั่นคงต่อไปในอนาคต และได้ชี้แจงความเป็นมาของโครงการสัมมนาและวัตถุประสงค์ของการสัมมนาฯ...อันนี้ก็เป็นไปตาม step ของการสัมมนาทั่วๆไป อย่างไรก็ตามผู้เขียนเองก็รู้สึกว่า ผู้ทรงเกียรติและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายให้ความสนใจในการเข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าท่านเหล่านั้นตระหนักถึงความสำคัญของการสัมมนาเพื่อระดมสมองในครั้งนี้เป็นอันมาก

2. ประธานรัฐสภา กล่าวแสดงความรู้สึกยินดีกับสมาชิกผู้เข้าร่วสัมมนาทุกท่าน ที่ได้ร่วมเดินทางมาแสดงความคิดเห็น และศึกษาวิเคราะห์แนวปฏิบัติ ที่ควรส่งเสริม และสืบสานวัฒนธรรมการเมืองไทยที่ควรและเหมาะสม เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชน ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยในระบบการเมืองไทยในอนาคตต่อไป...อ่านมาถึงตรงนี้...ผู้เขียนยิ้มและรู้สึกภูมิใจที่ตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่การสัมมนาครั้งนี้สู่ประชาชนผ่านเว็บบล็อกอีกช่องทางหนึ่ง เนื่องจากเมื่อผู้เขียนได้อ่านหนังสือเล่มนี้ก็รู้สึกว่าเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก  และเกิดแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้าที่จะถ่ายทอดหนังสือเล่มนี้สู่ประชาชน ด้วยความเสียดายในคุณค่าและความงดงามของหนังสือเล่มนี้นั่นเอง

3. ประธานรัฐสภา ได้บรรยายพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย ไว้อย่างน่าคิด...ความว่า ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยให้ความเห็นว่า การเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังยึดติดกับตัวบุคคลผู้มีอำนาจในวงราชการหรือทหารเป็นหลัก หากผู้ใดมีอำนาจก็จะตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อค้ำจุนอำนาจของตน ซึ่งที่สุดเมื่อตนเองหมดอำนาจพรรคการเมืองที่ตั้งมานั้นจะยุติลง

ฐานิกา บุษมงคล อ้างอิงจากหนังสือเอกสารทางวิชาการ "การสืบสานและพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองไทย" จัดพิมพ์โดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

น่าสนใจ