วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สส.แบ่งเขตตามรัฐธรรมนูญ2560

Facebook รัฐศาสตร์รำไพพรรณี ได้เผยแพร่บทความ เมื่อ 16 เมษายน 2017 เกี่ยวกับ สส.แบ่งเขตไว้ดังนี้
รัฐธรรมนูญ 2560 ส.ส.แบ่งเขตมีกี่คน? มาจากไหนบ้าง? อันนี้พอตอบได้ (แต่ข่าวว่าตัวเลขจริงก็ยังไม่นิ่ง) ส่วนจะได้เลือกตั้งปีไหน อันนี้ไม่แน่ใจนะจ๊ะ
.
ประกาศใช้กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ เมื่อวันที่ 6 เม.ย.60 ที่ผ่านมา สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าสุดของประเทศไทย “รัฐธรรมนูญฉบับที่ 20” 
ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้น 1,050 วัน หลังการยึดอำนาจของคสช.ในวันที่ 22 พ.ค. 2557
.
ซึ่งหนึ่งในรายละเอียดที่น่าสนใจของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ’การเลือกตั้ง’(หวังว่าคงยังไม่ลืมกันไปแล้วนะครับ+) โดยจากมาตรา 83,85 และ 86 กำหนดไว้ว่าสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 500 คน ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 350 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
.
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน เป็นจำนวนที่ให้ความสำคัญกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ต้องเป็นผู้แทนในเขตพื้นที่ของประชาชน ขณะเดียวกันเพื่อให้คะแนนของประชาชนมีความหมายด้วยการใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ "จัดสรรปันส่วนผสม" จึงกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน ซึ่งมีที่มาจากการจัดสรรคะแนนที่ประชาชนเลือกพรรคต่างๆ �ทั้งประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี โดยระบบการเลือกตั้งแบบนี้ จะมีลักษณะเด่นอยู่ที่ “บัตรเลือกตั้งใบเดียว” โดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญพยายามชี้ชวนว่าระบบเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้ “ทุกเสียงมีความหมาย” คะแนนจากการเลือกตั้ง ส.ส.เขต จะไม่สูญเปล่า แต่จะถูกนำมาคำนวณเป็นที่นั่งของ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) แทน หรือหมายความว่า การครั้งเดียวเท่ากับเลือกทั้งคนทั้งพรรค สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งสามารถจำแนกเป็นกลุ่มๆตามจำนวนของผู้แทนฯตามแต่ละจังหวัดเพื่อใ้ห้ทุกท่านได้เห็นภาพชัดมากขึ้นได้ดังต่อไปนี้ครับ
.
มี ส.ส.เขต 1 คน จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สมุทรสงคราม, สิงห์บุรี และอ่างทอง
.
มี ส.ส.เขต 2-5 คน จำนวน 48 จังหวัด ได้แก่ กระบี่, ชัยนาท, บึงกาฬ, แพร่, ภูเก็ต,สตูล, มุกดาหาร, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุตรดิตถ์,อุทัยธานี, จันทบุรี, ชุมพร, ตรัง, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, ยโสธร, ยะลา, เลย, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย, หนองบัวลำภู, ฉะเชิงเทรา,กำแพงเพชร, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, อยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง, กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, นครปฐม, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคราม, ราชบุรี และสุพรรณบุรี
.
มี ส.ส.เขต 6-9 คน จำนวน 17 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, สกลนคร, สุราษฎร์ธานี, เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ, สุรินทร์, ชลบุรี, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, สงขลา, ศรีสะเกษ, อุดรธานี และเชียงใหม่
.
มี ส.ส.เขต 10-14 คน จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น, อุบลราชธานี และนครราชสีมา
.
มี ส.ส.เขต 15 คนขึ้นไป จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ(30 คน)
.
เมื่อเปรียบเทียบเป็นสัดส่วนผู้เแทนฯ(ส.ส.) ทั้งหมดต่อประชากร พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนที่ ผู้เแทนฯ(ส.ส.) 1 คน ต่อประชากร 188,376 คน และเมื่อนำมาเทียบกับประเทศที่สำคัญๆทั่วโลกอย่าง สหรัฐอเมริกาที่มีจำนวนผู้แทนฯทั้งหมด 435 คน โดยคิดเป็นผู้แทนฯ 1 คน ต่อประชากร 722,636 คน หรือ สหราชอาณาจักรมีจำนวนผู้แทนฯ 650 คน โดยคิดเป็นผู้แทนฯ 1 คน ต่อประชากร 81,388 คน, นอร์เวย์มีจำนวนผู้แทนฯ 169 คน โดยคิดเป็นผู้แทนฯ 1 คน ต่อประชากร 29,785 คน เป็นต้น จากข้อมูลทั่วโลกก็พบนะครับ ว่าประเทศไทยก็มีสัดส่วนผู้เทนฯต่อประชากร ในระดับกลางๆไม่มากไป หรือน้อยไปเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก
.
สำหรับการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากท่านหวังว่าส.ส.ที่ชนะเลือกตั้งจากเขตของท่าน หรือส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อจากพรรคที่ท่านเลือกจะมีโอกาสเป็นนายกฯแน่นอนเหมือนที่รัฐธรรมนูญฉบับก่อนเคยกำหนดไว้ว่า นายกต้องมาจาก ส.ส. แล้วล่ะก็ ต้องขอบอกว่า เสียงประชาชนก็มิอาจสู้อภินิหารแห่งกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 เปิดช่องโตๆเนียนๆไว้ว่า ... นายกฯจะมาจากคนนอกก็ได้
.
ตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า พรรคการเมืองต้องเสนอชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีล่วงหน้า และเมื่อผ่านการเลือกตั้งมาจะเลือกใครนอกรายชื่อที่เสนอมาไม่ได้ เว้นแต่
.
1) ส.ส.ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 250 คน เข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา

2) รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว.ทั้งหมด ลงมติด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 หรือ 500 คนจาก 750 คน ให้มีนายกรัฐมนตรีนอกเหนือจากรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ได้

3) ส.ส. เข้าชื่อกัน 1 ใน 10 หรือ 50 คนเสนอชื่อบุคคลใดก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และให้รัฐสภาลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 251 คน
.
ก็ลองดูกันไปก่อนนะครับ ว่าบ้านท่านมี ส.ส. ให้เลือกกันกี่คน จะได้เตรียมตัวกันไว้แต่เนิ่นๆล่วงหน้าหลายๆปีเลย
.
source: MGRpolitics, iLawClub, คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.),http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF, thairath.co.th
ข้อมูลราษฎร ณ วันที่ 30 มีนาคม 2560
.
download จดหมายสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต ล่าสุด
https://www.dropbox.com/…/opf68q…/AABMD8wsP-SWFk9P0cSpzH4ra…
.
#TBS #TheDialogue #รัฐธรรมนูญ2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

น่าสนใจ